ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชำรุด-สูญหาย ต้องทำอย่างไร?
อัพเดทล่าสุด: 25 ส.ค. 2023
773 ผู้เข้าชม
ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชำรุด-สูญหาย ต้องทำอย่างไร?
เขียนเมื่อ 8 กรกฏาคม 2565 หมวดหมู่ ภาษี โดย Accounting Center
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) กันก่อนค่ะ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบธุรกิจ และมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร ซึ่งกรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ก.พ.20) ให้ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้ ณ สถานประกอบการในที่ที่เห็นได้ชัดเจนและเปิดเผย
ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) คือ ใบทะเบียน เป็นกระดาษขนาดประมาณ A4 มีลักษณะเป็นลายน้ำสีชมพู โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนจะใส่กรอบและแขวนอยู่ตามผนังหรือวางตั้งไว้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสถานประกอบการแห่งนั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีข้อมูล สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และวันที่ให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เป็นต้น
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบธุรกิจ และมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร ซึ่งกรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ก.พ.20) ให้ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้ ณ สถานประกอบการในที่ที่เห็นได้ชัดเจนและเปิดเผย
ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) คือ ใบทะเบียน เป็นกระดาษขนาดประมาณ A4 มีลักษณะเป็นลายน้ำสีชมพู โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนจะใส่กรอบและแขวนอยู่ตามผนังหรือวางตั้งไว้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสถานประกอบการแห่งนั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีข้อมูล สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และวันที่ให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เป็นต้น
เมื่อผู้ประกอบการประสงค์จะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) และกรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ให้ ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฏหมายตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป
กรณีหากมีสถาประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในแห่งเดียว หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ และกรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ให้แก่สถานประกอบการทุกแห่ง เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ในที่ที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการนั้นๆ เช่นกัน
กรณีหากมีสถาประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในแห่งเดียว หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ และกรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ให้แก่สถานประกอบการทุกแห่ง เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ในที่ที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการนั้นๆ เช่นกัน
การขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หากเกิดกรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชำรุด เสียหายในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือสูญหายจากความประมาทเลินเล่อจากเหตุที่ท่านตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ท่านสามารถขอออกใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ได้ เพียงแค่เตรียมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน ก็สามารถยื่นคำขอได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือยื่นทางเว็บไซต์ ซึ่งมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากแต่อย่างไร
หากเกิดกรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชำรุด เสียหายในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือสูญหายจากความประมาทเลินเล่อจากเหตุที่ท่านตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ท่านสามารถขอออกใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ได้ เพียงแค่เตรียมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน ก็สามารถยื่นคำขอได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือยื่นทางเว็บไซต์ ซึ่งมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากแต่อย่างไร
กรณีที่ทำใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชำรุด เสียหาย หรือสูญหาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนทราบว่าชำรุด เสียหาย หรือสูญหาย โดยท่านสามารถยื่นคำขอได้ที่
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
- เว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th โดยใช้ Username และ Password เดียวกันกับที่ใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านอินเทอร์เน็ต
เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จำนวน 3 ฉบับ
- ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด (ถ้ามี) พร้อมสำเนาหรือสำเนา ภ.พ.09 กรณีไม่มีใบเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
- หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทนปิดอากรแสตมป์ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- อื่นๆ เช่น หนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด